ทรงพล เลิศกอบกุล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงพล เลิศกอบกุล

ในวัยเด็กเติบโตที่จังหวัดพังงา อาจารย์ทรงพลเริ่มศึกษาดนตรีไทยที่โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย กระบี่ หลังจากนั้นได้เข้าศึกษาที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทในสาขาวิชาดนตรีวิทยา

อาจารย์ทรงพล มีความเชี่ยวชาญทั้งการปฏิบัติดนตรีไทย ดนตรีเอเชียและดนตรีเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทฤษฎีดนตรีไทย และมานุษยวิทยาดนตรี ในด้านดนตรีไทยนั้น ได้ศึกษาจากคณาจารย์หลายท่าน เช่น ครูกาหลง พึ่งทองคำ (ศิลปินแห่งชาติ) ครูสำราญ เกิดผล (ศิลปินแห่งชาติ) ครูพินิจ ฉายสุวรรณ (ศิลปินแห่งชาติ) ร้อยตรี ดร. สุรินทร์ สงค์ทอง ครูสุเชาว์ หริมพานิช รองศาสตราจารย์ เดช คงอิ่ม ครูบุญชู รอดประสิทธิ์ ครูสุวัฒน์ อรรถกฤษ อาจารย์อัษฎาวุธ สาคริก ครูอนันต์ชัย แมรา และเรียนเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพและหน้าพาทย์ชั้นสูงกับผู้ช่วยศาสตราจารย์ รณชิต แม้นมาลัย เป็นต้น

ได้รับรางวัลจากการประกวดดนตรีไทยในเวทีต่าง ๆ เช่น รองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดดนตรีไทย สำหรับประชาชน ทั่วไป ชิงถ้วยพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยาม บรมราชกุมารี เนื่องในโอกาส ครบรอบ ๑๐๐ ปี ของกรม ศิลปากร ประเภทวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ รางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทยแห่งชาติ ประเภทวงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่ จากมูลนิธิราชสกุลอาภากร ในพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เป็นต้น

ในด้านดนตรีวิทยาและมานุษยวิทยาดนตรี ได้ศึกษากับศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล รองศาสตราจารย์ ดร.สุกรี เจริญสุข รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ชัย ปิฎกรัชต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนรรฆ จรัณยานนท์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สนอง คลังพระศรี อาจารย์อานันท์ นาคคง เป็นต้น โดยวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทเรื่อง “เพลงตันหยงในวัฒนธรรมพื้นที่รอบอ่าวพังงา” ได้รับการสนับสนุนจากทุนมหาบัณฑิต สกว. ด้านมนุยศาสตร์-สังคมศาสตร์

เคยศึกษาวงกาเมลันของประเทศอินโดนีเซียร่วมกับหลักสูตรปริญญาโทสาขามานุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตลอดจนมีผลงานเขียนทางด้านวิชาการดนตรีในวารสารเพลงดนตรีอย่างต่อเนื่อง และเป็นอาจารย์พิเศษที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556

ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประวัติการศึกษา

  • ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาดนตรี (วิชาเอกดนตรีวิทยา) วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ประกาศนียบัตรบัณฑิต วิชาชีพครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
  • ดุริยางคศาสตรบัณฑิต สาขาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานทางวิชาการ

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2566). ปี่พาทย์เมือง – ปี่พาทย์มอญ: ข้อสังเกตและความสัมพันธ์บางประการ. ใน สัญญา สะสอง (บ.ก.), การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 3. ล้านนาคดีศึกษา (หน้า 129 – 140)

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2565). กระฎุมพี – ผู้ดีใหม่ กับพัฒนาการดนตรีไทยต้นรัตนโกสินทร์. Mahidol Music Journal, 4(2), หน้า 23 – 36.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2564). การศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้วัฒนธรรมดนตรีล้านนาในจังหวัด เชียงใหม่. ใน สัญญา สะสอง (บ.ก.), การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับชาติ ครั้งที่ 1. การขับเคลื่อนพหุวิทยาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เพื่อการ พัฒนาอย่างยั่งยืน (หน้า 234 – 250)

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2563). วัฒนธรรมดนตรีถิ่นใต้. เชียงใหม่: ศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและ นาฏศิลป์ล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2563). ประวัติและวัฒนธรรมดนตรีถิ่นใต้จากวรรณกรรมทักษิณ: เรื่องพระ ปรมัตถ ธรรม คำกาพย์. (ดวงฤทัย โพคะรัตนศิริ, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 25(10), (หน้า 32 – 38).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2563). ประวัติและวัฒนธรรมดนตรีถิ่นใต้จากวรรณกรรมทักษิณ: เรื่องนางโภค วดี คำกาพย์. (ดวงฤทัย โพคะรัตนศิริ, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 25(9), (หน้า 44 – 51).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2563). มโนทัศน์วัฒนธรรมกับกรณีห้ามชาวมุสลิมเล่นรองเง็งในจังหวัดกระบี่. (ดวงฤทัย โพคะรัตนศิริ, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 25(7), (หน้า 40 – 44).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2562). เพลงลูกทุ่งสำเนียงใต้กับการปรับใช้ดนตรีและการขับในหนังลุง – โนราห์ (พิชชาณัฐ ตู้จินดา, บ.ก.) วารสารสุริยะวาทิต, มกราคม – ธันวาคม 2562, (หน้า 47 – 54).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2562). เครื่องเคาะและวัฒนธรรมประโคมฆ้อง – กลองในดนตรีถิ่นใต้. (ดวงฤทัย โพคะรัตนศิริ, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 24(11), (หน้า 34 – 41).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2561). ดนตรีและการละเล่นในสำนวนไทยภาคใต้. (ดวงฤทัย โพคะรัตนศิริ, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 24(4), (หน้า 28 – 31).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2561). มโนทัศน์ปี่ใต้กับความหมายทางวัฒนธรรม. ใน พิธีไหว้ครูดนตรี ประจำปี การศึกษา 2561 (หน้า 114 – 119). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2561). รำลึกความรู้และสัจธรรมในคำครู ด้วยรักและอาลัยจากใจศิษย์. ใน เสียงสำราญ, อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายสำราญ เกิดผล ศิลปินแห่งชาติ สาขา ศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย). นนทบุรี: หยินหยางการพิมพ์.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2560). กาหลอ:พิธีกรรมดนตรีส่งวิญญาณ. ใน พิธีไหว้ครูดนตรีประจำปี การศึกษา 2560 (หน้า 58 – 66). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2559). พราหมณ์เข้า – พราหมณ์ออก: ภาพสะท้อนความเชื่อพราหมณ์แบบ อุษาคเนย์ในดนตรีไทย. ใน โครงการไหว้ครูและครอบครูดนตรีไทย ประจำปีการศึกษา 2559 (หน้า 12 – 19). พิษณุโลก: สาขาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร์.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2559). มานุษยดนตรีวิทยาภาคสนาม: แนวทางการทำงานของเจอรัล พี. ไดค์
(Gerald P. Dyck) กับการปรับใช้ศึกษาดนตรีในพื้นที่อื่น. (สงกรานต์ สมจันทร์, บ.ก.) ดนตรี ล้านนาปิ๊กบ้าน: Gerald P. Dyck กับการศึกษามานุษยดนตรีวิทยาในดนตรีล้านนา, (หน้า 47 – 60). เชียงใหม่: โครงการหอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาเจอรัลด์ ไดค์ ภาควิชาดนตรีและ ศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2559). มโหรีในทัศนะคนใต้: ข้อสังเกตจากการศึกษาวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง เต่าทอง ฉบับบ้านคลองจูด. ใน พิธีไหว้ครูดนตรีประจำปีการศึกษา 2559 (หน้า 43 – 48). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2558). ร่องรอยดนตรีท้องถิ่นก่อนการปรับใช้วัฒนธรรมยุโรปในรองเง็ง.
(สุรชาติ พุทธิมา บ.ก.) วารสารสะบันงา (3)3, (หน้า 111 – 120).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2558). “ถ่วงน้ำ” เครื่องดนตรีปริศนาแห่งบ้านพาทยโกศล. (สุกรี เจริญสุข, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 21(6), (หน้า 20 – 25).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2558). โนรา: วัฒนธรรมการละเล่นพื้นเมืองภาคใต้. ใน มหรสพสมโภชบัณฑิต (หน้า 52 – 56). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2558). วัฒนธรรมประโคมแห่ในดนตรีพื้นเมืองภาคใต้. ใน พิธีไหว้ครูดนตรี ประจำปีการศึกษา 2558 (หน้า 52 – 58). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2557). สังคีตภิรมย์ 14 คีต มงคล มหิดล รื่นเริง. (สุกรี เจริญสุข, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 20(7), (หน้า 52 – 57).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2557). ครูหมอ: จิตวิญญาณครูบรรพชนในดนตรีภาคใต้. ใน พิธีไหว้ครูดนตรี ประจำปีการศึกษา 2557 (หน้า 20 – 23). นครปฐม: วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2557). เพลงตันหยง: การปรับเปลี่ยนรูปแบบรองเง็งในพื้นที่ชายฝั่งทะเล
อันดามัน. (สุกรี เจริญสุข, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 19(9), (หน้า 48 – 53).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2556). “ร่วมสมัยฟองน้ำ” 33 ปี บนเส้นทางดนตรีร่วมสมัย. (สุกรี เจริญสุข, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 19(3), (หน้า 42 – 45).

ทรงพล เลิศกอบกุล. (2556). ฆ้องรางในภาพสลักบนผนังปราสาทนครวัด. (สุกรี เจริญสุข, บ.ก.) วารสารเพลงดนตรี Music Journal, 18(8), (หน้า 10 – 13).

รางวัล

  • รางวัลสุดยอดนักอ่าน หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล, 2558
  • รองชนะเลิศอันดับ 1 การประกวดดนตรีไทย สำหรับประชาชนทั่วไป ชิงถ้วย พระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาส ครบรอบ 100 ปี ของกรมศิลปากร ประเภทวงปี่พาทย์ไม้แข็งเครื่องคู่ เพลงโหมโรง มหาราช และ เพลงพม่า 5 ท่อน, 2554
  • รางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทยแห่งชาติ ประเภทวงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่ เพลงถวายพระพร ระดับประชาชนทั่วไป รางวัลชนะเลิศการประกวดดนตรีไทยแห่งชาติ ประเภทวงปี่พาทย์เสภาเครื่องคู่ เพลงจระเข้หางยาว 3 ชั้น ระดับประชาชนทั่วไป รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 การประกวดดนตรีไทยแห่งชาติ ประเภทเดี่ยว ฆ้องวงใหญ่ (ไม้หนัง) เพลงพญาโศก 3 ชั้น มูลนิธิราชสกุลอาภากร ในพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดม ศักดิ์ และบ้านดนตรีไทยศรีผ่อง, 2553