ภาพถ่ายเก่าดนตรีล้านนา

ฐานข้อมูลภาพถ่ายเก่าดนตรีล้านนา มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมภาพถ่ายเก่าดนตรีล้านนา เป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลดนตรีล้านนา และทำให้ทราบถึงพัฒนาการของดนตรีล้านนาจากอดีตถึงปัจจุบัน


คณะบำรุงหรรษา บ้านแจ่ม อ.เมือง จ.ลำพูน

จากวงดนตรีในชุมชนบ้านแจ่ม ต่อมาได้เกิดวงดนตรีล้านนาอาชีพ ชื่อ "คณะบำรุงหรรษา" โดย นายบุญทา บำรุงแจ่ม สำหรับคอลเลคชั่นภาพถ่ายนี้ อายุราวทศวรรษ 2490-2540 รวบรวมโดยนายนิชวัฒน์ ดวงสีลา

วัฒนธรรมดนตรีล้านนา จ.เชียงราย

ชุดภาพงานกฐินวัดดงมะดะ พ.ศ. 2512 แสดงให้เห็นถึงลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมดนตรีล้านนาเชียงราย คือ การฟ้อนเล็บ จะฟ้อนโดยใช้วงดนตรีปี่พาทย์ล้านนา แตกต่างจากพื้นที่วัฒนธรรมดนตรีล้านนาอื่นที่ใช้วงกลองตึ่งโนง อนุเคราะห์ภาพโดย คุณโกเมศ ขุนศรี และคุณอภิชิต ศิริชัย

จรัล มโนเพ็ชร กับดนตรีล้านนา

ภาพถ่ายของ จรัล มโนเพ็ชร ศิลปินโฟล์คซองคำเมืองแห่งยุคสมัย ได้รับความอนุเคราะห์จากคุณมานิด อัชวงศ์ ผู้จัดการส่วนตัว อนุเคราะห์ภาพถ่ายเก่าให้นายสงกรานต์ สมจันทร์ ใช้ประกอบการบรรยายในหลายโอกาส

เครื่องดนตรีล้านนา หอวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่

ภาพเครื่องดนตรีล้านนา จัดแสดง ณ หอวัฒนธรรม วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จัดทำภาพถ่ายเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2524 เมื่อสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดสร้างอาคารที่ทำการใหม่ คือ อาคารเทพรัตนราชสุดา อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้นางสาวปนัดดา โตคำนุช เก็บรักษาภาพชุดนี้ไว้

แข่งกลองหลวง สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่

ภาพการแข่งกลองหลวง สนามกีฬาเทศบาลนครเชียงใหม่ ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่ถ่าย อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้นางสาวปนัดดา โตคำนุช เก็บรักษาภาพชุดนี้ไว้

แข่งกลองหลวง วิทยาลัยครูเชียงใหม่

ภาพการแข่งกลองหลวง วิทยาลัยครูเชียงใหม่ จากภาพมีการแข่งขันสองครั้ง คือ ระหว่างการสร้างอาคารคณะวิทยาการจัดการ และหลังจากที่สร้างอาคารคณะวิทยาการจัดการเสร็จแล้ว ราว พ.ศ. 2531 อาจารย์ยุพิน เข็มมุกด์ อดีตผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้มอบหมายให้นางสาวปนัดดา โตคำนุช เก็บรักษาภาพชุดนี้ไว้

กลองหลวง วัดดงหาดนาค อ.จอมทอง

ภาพกลองหลวงและการสร้างกลองหลวง อัลบัมภาพของพระครูวิรุฬห์ธรรมโกวิทย์ (สุปัญญา จารุวณฺโณ) อดีตเจ้าอาวาสวัดหาดนาค อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ลงวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2533 แสดงให้เห็นวัฒนธรรมการสร้างกลองหลวงในขณะนั้น พระมหาอนันต์ สิริวฒฺโน ได้รวบรวมเก็บรักษาไว้

ฟ้อนผี บ้านท่าสะต๋อย เมืองเชียงใหม่

ภาพพิธีฟ้อนผี บ้านท่าสะต๋อย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไม่ทราบปี พ.ศ. ที่ถ่าย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เฉลิมชัย สุขจิตร มอบให้ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิทยา พลวิฑูรย์ รองคณบดี คณะศิลปกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

อำนวยโชว์

กล่าวได้ว่า คณะอำนวยโชว์ เป็นวงดนตรีพื้นเมืองประยุกต์วงแรก ๆ ในสังคมล้านนา ซึ่งโด่งดังมากในช่วงปี 2510-2520 ก่อนที่จะยุติวงไป ดนตรีพื้นเมืองในยุคนั้น หมายถึง วงสะล้อ ซอ ซึง และคำว่า "ประยุกต์" ก็เริ่มใช้ในยุคนี้

การประชุมวิชาการ “เพลงพื้นบ้านลานนาไทย”

การประชุมวิชาการเรื่อง “เพลงพื้นบ้านลานนาไทย” จัดโดยวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 21-23 มกราคม พ.ศ. 2524 ณ อาคาร 1 วิทยาลัยครูเชียงใหม่

คณะนิเทศสัมพันธ์ บ้านมะขุนหวาน

ภาพวงดนตรีนิเทศสัมพันธ์ วงดนตรีชาวบ้านชื่อดังทศวรรษ 2510-2520 แห่งบ้านมะขุนหวาน อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่  โดยมีพ่อหนานสุวิทย์ จารุภรณ์ เป็นหัวหน้าวง และภาพต่าง ๆ ในชุมชน

พิธีไหว้ครูดนตรีล้านนา พ่อครูวิเทพ กันธิมา

พิธีไหว้ครูดนตรีล้านนา โดย พ่อครูวิเทพ กันธิมา (16 พฤศจิกายน 2497-9 เมษายน 2549) ซึ่งเป็นครูดนตรีล้านนาคนสำคัญอีกท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์ดนตรีล้านนา 

หากว่าท่านมีภาพถ่ายเก่า!

ภาพถ่ายของท่านมีคุณค่าในฐานะ "หลักฐานทางประวัติศาสตร์" สำหรับภาพถ่ายที่ปรากฏเรื่องราวดนตรีล้านนา หากท่านมีความประสงค์ที่จะบริจาค ท่านสามารถศึกษารายละเอียดได้จากที่นี่

Click me

แปลงภาพถ่ายเป็นดิจิทัลไฟล์

โครงการจดหมายเหตุดนตรีล้านนา ได้ดำเนินการแปลงภาพถ่ายเก่าดนตรีล้านนาให้เป็นดิจิทัลไฟล์ โดยเจ้าของภาพเก็บรักษาต้นฉบับไว้และรับไฟล์ดิจิทัลที่โครงการแปลงให้ด้วย สามารถศึกษารายละเอียดได้จากที่นี่

Click me