เกี่ยวกับโครงการ

Database Work2.png

หอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาออนไลน์ เจอรัลด์ ไดค์
Gerald P. Dyck Online Ethnomusicology Archive of Lanna Music


หอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาออนไลน์ เจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck Online Ethnomusicology Archive of Lanna Music) มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลดนตรีล้านนา ทั้งเสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และอื่นๆ เพื่อให้บริการทางวิชาการด้านดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (Ethnomusicology) แก่นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนบุคคลทั่วไปในรูปแบบฐานข้อมูลออนไลน์ (online database) โดยมุ่งหวังเพื่อให้สังคมวิชาการดนตรีในประเทศไทย โดยเฉพาะดนตรีล้านนามีการศึกษาอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้นทั้งด้านวิชาการตลอดจนใช้เป็นวัตถุดิบ (material) สำหรับการวิจัยและสร้างสรรค์ทางดนตรีในอนาคต

หอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาออนไลน์ ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ อาจารย์เจอรัลด์ ไดค์ (Gerald P. Dyck) อดีตรองศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยบลัฟตัน (Bluffton University) รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเคยเป็นอาจารย์ประจำวิทยาลัยศาสนศาสตร์แมคกิลวารี (Thailand Theological Seminary) ปัจจุบันเป็นวิทยาลัยหนึ่งของมหาวิทยาลัยพายัพ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๑๐-๑๕๑๔ ในช่วงเวลานั้น ได้ทำการศึกษาภาคสนามดนตรีล้านนา บันทึกทั้งภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว ตลอดจนบันทึกเสียงดนตรีล้านนาเป็นจำนวนมาก ถือว่าเป็นนักดนตรีชาติพันธุ์วิทยา (ethnomusicologist) ผู้ศึกษาดนตรีล้านนาคนแรก และได้มอบข้อมูลทั้งภาพและเสียงแก่นายสงกรานต์ สมจันทร์ เมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลดนตรีล้านนาออนไลน์ ซึ่งเป็นที่มาของหอจดหมายเหตุดนตรีล้านนานี้

นอกจากข้อมูลดนตรีจากอาจารย์เจอรัลด์ ไดค์ แล้ว รองศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ คริสโตเฟอร์ ชาริอารี แห่งสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยเค้นท์เสตท (Kent State University School of Music) รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ได้มอบภาพเคลื่อนไหวช่วงที่เข้ามาทำดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกในพื้นที่ภาคเหนือของไทย ช่วง พ.ศ. ๒๕๔๒ แก่นายสงกรานต์ สมจันทร์ ในคราวที่เดินทางไปเยือนมหาวิทยาลัยดังกล่าว เมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ เพื่อให้บริการในหอจดหมายแหตุออนไลน์นี้อีกด้วย

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หอจดหมายเหตุดนตรีล้านนาออนไลน์ เจอรัลด์ ไดค์ จะเป็นประโยชน์แก่นักวิชาการ นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ได้เข้าถึงและใช้ประโยชน์จากข้อมูลอันทรงคุณค่านี้อย่างถ้วนทั่วกัน


ข้อมูลที่ได้รับ

ข้อมูลดนตรีที่ได้รับจาก รองศาสตราจารย์ Gerald P. Dyck มีดังนี้

  • Sound Folders ไฟล์เสียง ที่แปลงจากเทปรีล (Reel Tape) จำนวน ๑๕๒ โฟลเดอร์ ๑,๔๒๘ ไฟล์
  • Photo Archive ไฟล์ภาพที่แสกนจากต้นฉบับ จำนวน ๖๔ โฟลเดอร์ ตั้งชื่อโฟลเดอร์ตามบุคคล/เหตุการณ์/ชาติพันธุ์/กิจกรรมทางดนตรี ๕๕๕ ไฟล์
  • Index Archive บันทึกสนามของเทปแต่ละม้วน จำนวน ๑๕๒ ไฟล์
  • Spreadsheet MS Excel รายละเอียดของเพลงทั้ง ๑,๔๒๘ เพลง ประกอบด้วย ลำดับที่ของเพลงทั้งหมด เทปรีลที่ ลำดับของเพลงในแต่ละเทปรีล ชื่อเพลง/กิจกรรมทางดนตรี ชื่อนักดนตรี/ชาติพันธุ์ และภาษาที่ใช้ในเสียงที่บันทึก
  • PowerPoint ดนตรีล้านนาและดนตรีชาติพันธุ์วิทยา จำนวน ๓๒ ไฟล์/โฟลเดอร์
  • ไฟล์วีดีโอ ซึ่งบันทึกร่วมกับ ศาสตราจารย์ ดร. David Morton

ข้อมูลที่ได้รับจาก รองศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ ชารีอารี มหาวิทยาลัยเค้นท์สเตท เป็นไฟล์วีดีโอ บันทึกระหว่าง พ.ศ. ๒๕๔๐-๒๕๔๒ จำนวน ๖๖ ไฟล์


คณะกรรมการดำเนินงานศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ 3301/2566 สั่ง ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2566

คณะกรรมการอำนวยการ

  1. อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ปรึกษา
  2. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ประธานกรรมการ
  3. รองคณบดีฝ่ายวิชาการและงานวิจัย รองประธานกรรมการ
  4. รองคณบดีฝ่ายบริหารและสื่อสารองค์กร กรรมการ
  5. รองคณบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนานักศึกษา กรรมการ
  6. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและบริการชุมชน กรรมการ
  7. ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และศิลปะวัฒนธรรม กรรมการ
  8. หัวหน้าสำนักงานคณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ กรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการดำเนินงาน

  1. คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่ปรึกษา
  2. ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล ที่ปรึกษา
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณชิต แม้นมาลัย ที่ปรึกษา
  4. อาจารย์สารภี วีระกุล ที่ปรึกษา
  5. ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา (ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงกรานต์ สมจันทร์) ประธานกรรมการ
  6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรณพันธุ์ ใจหล้า รองประธานกรรมการ
  7. อาจารย์เมธินี อ่องแสงคุณ กรรมการ
  8. อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ กรรมการ
  9. อาจารย์มงคล ภิรมย์ครุฑ กรรมการ
  10. อาจารย์ชัพวิชญ์ ใจหาญ กรรมการ
  11. อาจารย์ ดร.สุนิษา สุกิน กรรมการ
  12. อาจารย์จักรกฤษณ์ แสนใจ กรรมการ
  13. อาจารย์ทรงพล เลิศกอบกุล กรรมการ
  14. อาจารย์จิตร์ กาวี กรรมการและเลขานุการ

หัวหน้าโครงการและคณะทำงาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์สงกรานต์ สมจันทร์

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

อาจารย์ทรงพล เลิศกอบกุล

อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

อาจารย์จิตร์ กาวี

อาจารย์ประจำหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

นักศึกษาช่วยงานโครงการ